วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและทางจิต

กิจกรรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและทางจิต 

     เป็นการฝึกปฏิบัติหรือการกระทำกิจกรรมใดๆที่ส่งผลดีของสุขภาพทางกายและใจ โดยการเสริมสร้างความแข็งแรงสมบูรณ์ทางร่างกาย อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างความสามารถทางจิตใจที่จะคิดแก้ปัญหา อุปสรรคต่างๆ เพื่อนำไปสู่การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข
ตัวอย่างกิจกรรมเสริมสร้างสมรรภภาพทางกาย
·       การออกกำลังกาย
·       การเล่นกีฬาประเภทต่างๆ  เช่น ฟุตบอล บอสเกตบอล เทนนิส เป็นต้น
·       การว่ายน้ำ
ตัวอย่างกิจกรรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางจิตใจ
·       การนั่งสมาธิ
·       การเดินจงกรม
·       การเล่นโยคะ
·       การนั่งวิปัสสนา
·       การเข้าค่ายธรรมะ หรือ การเข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา
·       การผ่อนคลายความเครียดตัววิธีการต่างๆ เช่น การไปพักผ่อนตากอากาศที่ต่างจังหวัด การฟังเพลง เป็นต้น

ความสำคัญของกิจกรรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและใจ

·       เป็นการสร้างเสริมให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
·       เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น ระบบกล้ามเนื้อ ระบบหายใจ  
           ระบบหมุนเวียนโลหิต เป็นต้น
·       ช่วยให้มีรูปร่างที่ดี
·       ทำให้ร่างกายเกิดความคล่องตัว มีความหยืดหยุ่น
·       เป็นการลดความเครียดจากการเรียนหรือการทำงาน
·       ทำให้เป็นคนมีสุขภาพทางจิตที่ดี เป็นคนร่าเริง อารมณ์ดี มีทัศนะคติในการมองโลกไปในทางที่ดี
·       มีปฏิภาณไหวพริบในการแก้ปัญหา แก้ปัญหาด้วยความชาญฉลาด
หลักการเลือกกิจกรรมทางกายและทางจิต  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.    ทางกาย
เลือกรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับความสามารถทางร่างกายของเรา และ เลือกปฏิบัติกิจกรรมที่เรามีความชื่นชอบและถนัด โดยพิจารณาตามปัจจัยดังนี้
·       ความแตกต่างระหว่างเพศ : เพศหญิง และ เพศชาย มีรูปร่าง ลักษณะ และความสามารถทาง 
ร่างกายที่แตกต่างกัน ทั้งการเจริญเติบโต ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความคล่องแคล่วว่องไว
·       สภาพร่างกาย และจิตใจ  แต่ละบุคคลมีสภาพทางร่างกายและจิตใจที่แตกต่างกัน
·       ความปลอดภัย
·       เวลาในการปฏิบัติ : ควรมีการปฏิบัติกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินไป
·       ความสนใจและความถนัด
·     วัย : ควรมีการเลือกรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย
           
2.    ทางจิต
        ·       สภาพร่างกาย และจิตใจ : แต่ละบุคคลมีสภาพทางร่างกายและจิตใจที่แตกต่างกัน ดังนั้นควรพิจารณาความสามารถของตนเอง ก่อนเลือกปฏิบัติกิจกรรมนั้นๆ
·       ความสนใจ และความตั้งมั่นในการปฏิบัติ
·       สถานที่ : ควรเป็นสถานที่ที่สงบ ไม่วุ่นวาย มีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ดี เช่น ไม่มีสิ่ง
           รบกวน เช่น เสียง แสง กลิ่น ควัน เป็นต้น


การวางแผนสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและจิต  มีขั้นตอนสำคัญดังนี้

1.  กำหนดเป้าหมาย  เช่น  วางแผนฝึก
2.  ศึกษาเกี่ยวกับหลักการโดยทั่วไปในการสร้างเสริมสมรรถภาพ  เช่น ลักษณะทั่วไปของผู้มีสมรรถภาพทางกายดีเป็นอย่างไร หลักการสร้างเสริมสมรรถภาพและประโยชน์ของการมีสมรรถภาพที่ดี
3.  การตรวจสุขภาพ  ก่อนการวางโปรแกรมสำหรับสร้างเสริมสมรรถภาพ  ผู้ปฏิบัติควรได้รับการตรวจทางการแพทย์  เช่น  ประวัติการป่วย   การเต้นของชีพจร  เป็นต้น
4.  การเลือกกิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย  ต้องคำนึงถึงความสนใจและความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
5.  ศึกษาวิธีการเล่น  การฝึกที่ถูกต้อง  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
6.  ระยะเวลาในการฝึก   กำหนดระยะเวลาที่เหมาะสม   
7.  จัดเตรียมสถานที่  ควรจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศให้เหมาะสมกับกิจกรรม
8.  ปฏิบัติกิจกรรมตามแผนที่วางไว้
9.  การประเมินผลหลังการปฏิบัติกิจกรรม  เพื่อให้ทราบข้อบกพร่องของตนเอง แล้วนำมาแก้ไขปรับปรุงต่อไป

รูปแบบของกิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย  มีหลายวิธีดังนี้
ตัวอย่าง  ท่านอนหงาย

       เป็นท่าทำได้ไม่ยาก การฝึกจะทำให้ได้ผลดีต่อร่างกาย กระตุ้นอวัยวะในช่องท้อง ลดอาการปวดประจำเดือน ลดอาการปวดหลัง

รูปแบบของกิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางจิต  เช่น  การวิ่งสมาธิ
มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
 1. ศีรษะและลำตัวควรตั้งตรง อกผาย ไหล่ผึ่ง
2. แกว่งแขนตรงไปข้างหน้า อย่าแกว่งแขนข้ามลำตัว
3. ลงน้ำหนักที่ส้นเท้าคล้ายเดิน แล้วรีบนาบฝ่าเท้าโดยโยกตัวไปข้าหน้าเล็กน้อย เพื่อยกเท้าขึ้นด้วยปลายเท้า อย่าลงปลายเท้าก่อนแบบวิ่งเร็ว
4. หายใจให้ลึกและยาวอย่างที่เรียกกันว่าหายใจด้วยท้องสำหรับจังหวะการหายใจควรปล่อยให้เป็นปกติตามธรรมชาติ
5. อย่าเกร็งส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย กำมือหลวมๆตามสบาย
         เป็นการลดความตึงเครียด  อีกทั้งยังช่วยให้ระบบต่างๆในร่างกายได้รับการปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น อีกด้วย


 แหล่งอ้างอิง ; 

http://61.19.55.118/~nokjip/pairin/5/6.1.4.html
http://www.siamhealth.net/public_html/alter/yoga/pose.htm

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ชุมชนกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค


สุ ที่ ดี



          เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา การที่เรามีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เปรียบเสมือนรางวัลชีวิต  เป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่ชุมชนจะมีสุขภาพดีนั้น สมาชิกในชุมชนทุกคนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย และให้ความร่วมมือแก่กันและกันในการให้ข้อมูลข่าวสารหรือความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและวิธีการดูแลรักษาสุขภาพ อีกทั้งยังต้อง มีความรับผิดชอบต่อชุมชน โดยกันดูแลรักษาความสะอาดของชุมชนนั้น ๆ เพื่อสุขอนามัยที่ดีของชุมชน อาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญนัก แต่นี่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน 

          การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
ชุมชน หมายถึง กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ หรืออาณาเขตบริเวณเดียวกัน มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน หรือมีวัฒนธรรม ประเพณีเหมือนกัน
การสร้างเสริมสุขภาพตามความหมายขององค์การอนามัยโลก หมายถึง กระบวนการของการเพิ่มสมรรถนะให้คนสามารถควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ และเป็นผลให้บุคคลนั้นมีสุขภาพที่ดี
การป้องกันโรค หมายถึง การกระทำหรืองดการกระทำบางอย่างเพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยหรือเป็นโรค และไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก
          ความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน
            ปัจจัยที่ทำให้ชุมชนมีสุขภาพดีมี 3 ประการ ดังนี้
1.   คน  เป็นปัจจัยเกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพของสมาชิก โดยชุมชนที่สมาชิกมีสุขภาพที่ดีนั้น ย่อมส่งผลให้ชุมชนมีสุขภาพที่ดีตามไปด้วย
2.   สถานที่ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในชุมชน ชุมชนที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีจะช่วยให้สมาชิกมีสุขภาพที่ดี
3.   ระบบสังคม ได้แก่ ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา ระบบสวัสดิการ    ระบบนันทนาการ ระบบการติดต่อสื่อสาร ระบบศาสนา ระบบการเมือง ระบบการคมนาคม ระบบกฎหมาย และระบบบริการสุขภาพ โดยชุมที่มีระบบสังคมที่ดีย่อมส่งผลให้ชุมชนมีสุขภาพดี
การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชนเป็นกลยุทธ์สำคัญของการพัฒนาสุขภาพชุมชน ที่ต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชนในการดูแลสุขภาพของชุมชนให้อยู่ในสภาวะที่ดี เพื่อการมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ของทุกคนในชุมชน

           โรคที่เป็นปัญหาในชุมชนและหลักการป้องกันโรค
            โรคต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนมักจะส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อยู่อาศัยในชุมชน เพราะฉะนั้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคต่างๆและหลักการป้องกันจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจ  โดยมีหลักป้องกันโรคดังนี้ ;
การป้องกันโรคล่วงหน้า หมายถึง การป้องกันก่อนการเกิดโรค ซึ่งสามารถแบ่งแนวทางในการป้องกันโรคได้ 2 แนวทาง คือ
             
           1. การป้องกันโรคทั่วไป คือ แนวทางการเสริมสร้างสุขภาพเพื่อให้คนในชุมชนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี
           2.   การป้องกันโรคเฉพาะอย่าง คือ แนวทางการเสริมสร้างให้ร่างกายมีความต้านทานโรคต่างๆ เช่นการให้วัคซีนป้องกันโรคต่างๆ

 การป้องกันโรคในระยะที่โรคเกิดขึ้นแล้ว หมายถึง การป้องกันโรคในระยะที่เกิดโรคขึ้นในชุมชนแล้ว โดยกำหนดแนวทางการระงับโรค การป้องกันการแพร่เชื้อ และการระบาดของโรคในชุมชน เช่น ควบคุมสัตว์และแมลงที่เป็นสื่อนำโรค

การป้องกันโรคภายหลังการเกิดโรค หมายถึง การป้องกันโรคหลังเกิดโรคหรือเป็นโรคแล้ว เพื่อป้องกันจากความพิการ การไร้สมรรถภาพ หรือลดผลเสียจากโรคแทรกซ้อน
ภูมิปัญญาไทยกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน

ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถของคนไทยที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ซึ่งได้ผ่านกานพัฒนาและสืบทอดต่อๆกันมา
ความสำคัญของภูมิปัญญาไทยต่อการเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน
ทุกชุมชนมีวิถีการดำรงชีวิตเป็นของตนเอง และมีสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ทำให้สมาชิกในชุมชนมีภูมปัญญาที่แตกต่างกันออกไป โดยภูมิปัญญาเหล่านั้นได้ผ่านการลองผิดลองถูก และกลายมาเป็นภูมิปัญญาในการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ หรือ การประคบสมุนไพรรักษาอาการปวดเมื่อยเป็นต้น ดังนั้นภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพในเรื่องของการบำบัด บรรเทา รักษาอาการเจ็บป่วย การป้องกันโรค และการเสริมสร้างสุขภาพ           

แนวทางการใช้ภูมิปัญญาไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน

การแพทย์แผนไทย   ( Thai Traditional Medicine ) หมายถึง กระบวนการทางการแพทย์เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บำบัด รักษา การป้องกันโรค หรือการฟื้นฟูสุขภาพ

 การแพทย์แผนไทยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับชุมชนของตัวเองได้ เช่น

การนวดแผนไทย เป็นภูมิปัญญาในการรักษาโรค การนวดไทยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่
1.   การนวดแบบราชสำนัก
2.   การนวดแบบเชลยศักดิ์



กระประคบสมุนไพร เป็นการใช้สมุนไพรในการฟื้นฟูสุขภาพโดยการนำสมุนไพรมาห่อและนำไปประคบบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อย จะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้



น้ำสมุนไพร ผักพื้นบ้านและอาหารเพื่อสุขภาพ น้ำสมุนไพร และอาหารช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรงอยู่ในภาวะปกติ โดยเกิดจากความเฉลียวฉลาดของบรรพบุรุษ เช่น น้ำขิงช่วยในการขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ


การทำสมาธิ สวดมนต์ และภาวนาเพื่อการรักษาโรค เป็นวิถีชีวิต และความเชื่อ จัดว่าเป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยซึ่งมีผลต่อสภาพจิตใจเป็นอย่างดี เพราะการนั่งสมาธิ สวดมนต์และการภาวนาช่วยให้มีจิตใจที่บริสุทธิ์ และทำให้จิตใจเกิดความสงบ


กายบริหารแบบไทย หรือกายบริหารท่าฤาษีดัดตน เป็นภูมิปัญญาเกิดขึ้นจากการเล่าต่อๆกันมาของผู้ที่นิยมนั่งสมาธิ เมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องจะช่วยรักษาอาการปวดเมื่อย ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดี สร้างสมาธิ และผ่อนคลายความเครียดได้



แนวร่วมในชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค
กลวิธีในการสร้างแนวร่วมให้เกิดขึ้นในชุมชน
1.   การมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหาและความต้องการของชุมชน
2.   การมีส่วนร่วมในการวางแผน โดยสมาชิกของชุมชนร่วมกันคิดและตัดสินใจ
3.   การมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมสุขภาพ โดยสมาชิกต้องร่วมกันทำกิจกรรมตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้
4.   การมีส่วนร่วมในการประเมินผล
5.   การมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาผลประโยชน์ที่ได้รับ โดยสมาขิกต้องนำผลการจัดทำกิจกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน  นอกจากนี้การสร้างแนวร่วมในชุมชนยังก่อให้เกิความเข้มแข็งของคนในชุมชนอีกด้วย
  

คณะผู้จัดทำ. . .
1) นส.วริศรา  ธนาคม                  ม.6/1   เลขที่1
2) นส.ปาริชาต  กิจมาตรสุวรรณ  ม.6/1   เลขที่ 3
3) นายธนภัทร  สำราญศิลป์         ม.6/1   เลขที่ 13