วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ชุมชนกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค


สุ ที่ ดี



          เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา การที่เรามีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เปรียบเสมือนรางวัลชีวิต  เป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่ชุมชนจะมีสุขภาพดีนั้น สมาชิกในชุมชนทุกคนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย และให้ความร่วมมือแก่กันและกันในการให้ข้อมูลข่าวสารหรือความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและวิธีการดูแลรักษาสุขภาพ อีกทั้งยังต้อง มีความรับผิดชอบต่อชุมชน โดยกันดูแลรักษาความสะอาดของชุมชนนั้น ๆ เพื่อสุขอนามัยที่ดีของชุมชน อาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญนัก แต่นี่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน 

          การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
ชุมชน หมายถึง กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ หรืออาณาเขตบริเวณเดียวกัน มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน หรือมีวัฒนธรรม ประเพณีเหมือนกัน
การสร้างเสริมสุขภาพตามความหมายขององค์การอนามัยโลก หมายถึง กระบวนการของการเพิ่มสมรรถนะให้คนสามารถควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ และเป็นผลให้บุคคลนั้นมีสุขภาพที่ดี
การป้องกันโรค หมายถึง การกระทำหรืองดการกระทำบางอย่างเพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยหรือเป็นโรค และไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก
          ความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน
            ปัจจัยที่ทำให้ชุมชนมีสุขภาพดีมี 3 ประการ ดังนี้
1.   คน  เป็นปัจจัยเกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพของสมาชิก โดยชุมชนที่สมาชิกมีสุขภาพที่ดีนั้น ย่อมส่งผลให้ชุมชนมีสุขภาพที่ดีตามไปด้วย
2.   สถานที่ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในชุมชน ชุมชนที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีจะช่วยให้สมาชิกมีสุขภาพที่ดี
3.   ระบบสังคม ได้แก่ ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา ระบบสวัสดิการ    ระบบนันทนาการ ระบบการติดต่อสื่อสาร ระบบศาสนา ระบบการเมือง ระบบการคมนาคม ระบบกฎหมาย และระบบบริการสุขภาพ โดยชุมที่มีระบบสังคมที่ดีย่อมส่งผลให้ชุมชนมีสุขภาพดี
การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชนเป็นกลยุทธ์สำคัญของการพัฒนาสุขภาพชุมชน ที่ต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชนในการดูแลสุขภาพของชุมชนให้อยู่ในสภาวะที่ดี เพื่อการมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ของทุกคนในชุมชน

           โรคที่เป็นปัญหาในชุมชนและหลักการป้องกันโรค
            โรคต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนมักจะส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อยู่อาศัยในชุมชน เพราะฉะนั้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคต่างๆและหลักการป้องกันจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจ  โดยมีหลักป้องกันโรคดังนี้ ;
การป้องกันโรคล่วงหน้า หมายถึง การป้องกันก่อนการเกิดโรค ซึ่งสามารถแบ่งแนวทางในการป้องกันโรคได้ 2 แนวทาง คือ
             
           1. การป้องกันโรคทั่วไป คือ แนวทางการเสริมสร้างสุขภาพเพื่อให้คนในชุมชนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี
           2.   การป้องกันโรคเฉพาะอย่าง คือ แนวทางการเสริมสร้างให้ร่างกายมีความต้านทานโรคต่างๆ เช่นการให้วัคซีนป้องกันโรคต่างๆ

 การป้องกันโรคในระยะที่โรคเกิดขึ้นแล้ว หมายถึง การป้องกันโรคในระยะที่เกิดโรคขึ้นในชุมชนแล้ว โดยกำหนดแนวทางการระงับโรค การป้องกันการแพร่เชื้อ และการระบาดของโรคในชุมชน เช่น ควบคุมสัตว์และแมลงที่เป็นสื่อนำโรค

การป้องกันโรคภายหลังการเกิดโรค หมายถึง การป้องกันโรคหลังเกิดโรคหรือเป็นโรคแล้ว เพื่อป้องกันจากความพิการ การไร้สมรรถภาพ หรือลดผลเสียจากโรคแทรกซ้อน
ภูมิปัญญาไทยกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน

ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถของคนไทยที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ซึ่งได้ผ่านกานพัฒนาและสืบทอดต่อๆกันมา
ความสำคัญของภูมิปัญญาไทยต่อการเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน
ทุกชุมชนมีวิถีการดำรงชีวิตเป็นของตนเอง และมีสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ทำให้สมาชิกในชุมชนมีภูมปัญญาที่แตกต่างกันออกไป โดยภูมิปัญญาเหล่านั้นได้ผ่านการลองผิดลองถูก และกลายมาเป็นภูมิปัญญาในการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ หรือ การประคบสมุนไพรรักษาอาการปวดเมื่อยเป็นต้น ดังนั้นภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพในเรื่องของการบำบัด บรรเทา รักษาอาการเจ็บป่วย การป้องกันโรค และการเสริมสร้างสุขภาพ           

แนวทางการใช้ภูมิปัญญาไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน

การแพทย์แผนไทย   ( Thai Traditional Medicine ) หมายถึง กระบวนการทางการแพทย์เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บำบัด รักษา การป้องกันโรค หรือการฟื้นฟูสุขภาพ

 การแพทย์แผนไทยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับชุมชนของตัวเองได้ เช่น

การนวดแผนไทย เป็นภูมิปัญญาในการรักษาโรค การนวดไทยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่
1.   การนวดแบบราชสำนัก
2.   การนวดแบบเชลยศักดิ์



กระประคบสมุนไพร เป็นการใช้สมุนไพรในการฟื้นฟูสุขภาพโดยการนำสมุนไพรมาห่อและนำไปประคบบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อย จะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้



น้ำสมุนไพร ผักพื้นบ้านและอาหารเพื่อสุขภาพ น้ำสมุนไพร และอาหารช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรงอยู่ในภาวะปกติ โดยเกิดจากความเฉลียวฉลาดของบรรพบุรุษ เช่น น้ำขิงช่วยในการขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ


การทำสมาธิ สวดมนต์ และภาวนาเพื่อการรักษาโรค เป็นวิถีชีวิต และความเชื่อ จัดว่าเป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยซึ่งมีผลต่อสภาพจิตใจเป็นอย่างดี เพราะการนั่งสมาธิ สวดมนต์และการภาวนาช่วยให้มีจิตใจที่บริสุทธิ์ และทำให้จิตใจเกิดความสงบ


กายบริหารแบบไทย หรือกายบริหารท่าฤาษีดัดตน เป็นภูมิปัญญาเกิดขึ้นจากการเล่าต่อๆกันมาของผู้ที่นิยมนั่งสมาธิ เมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องจะช่วยรักษาอาการปวดเมื่อย ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดี สร้างสมาธิ และผ่อนคลายความเครียดได้



แนวร่วมในชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรค
กลวิธีในการสร้างแนวร่วมให้เกิดขึ้นในชุมชน
1.   การมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหาและความต้องการของชุมชน
2.   การมีส่วนร่วมในการวางแผน โดยสมาชิกของชุมชนร่วมกันคิดและตัดสินใจ
3.   การมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมสุขภาพ โดยสมาชิกต้องร่วมกันทำกิจกรรมตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้
4.   การมีส่วนร่วมในการประเมินผล
5.   การมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาผลประโยชน์ที่ได้รับ โดยสมาขิกต้องนำผลการจัดทำกิจกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน  นอกจากนี้การสร้างแนวร่วมในชุมชนยังก่อให้เกิความเข้มแข็งของคนในชุมชนอีกด้วย
  

คณะผู้จัดทำ. . .
1) นส.วริศรา  ธนาคม                  ม.6/1   เลขที่1
2) นส.ปาริชาต  กิจมาตรสุวรรณ  ม.6/1   เลขที่ 3
3) นายธนภัทร  สำราญศิลป์         ม.6/1   เลขที่ 13