วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและทางจิต

กิจกรรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและทางจิต 

     เป็นการฝึกปฏิบัติหรือการกระทำกิจกรรมใดๆที่ส่งผลดีของสุขภาพทางกายและใจ โดยการเสริมสร้างความแข็งแรงสมบูรณ์ทางร่างกาย อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างความสามารถทางจิตใจที่จะคิดแก้ปัญหา อุปสรรคต่างๆ เพื่อนำไปสู่การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข
ตัวอย่างกิจกรรมเสริมสร้างสมรรภภาพทางกาย
·       การออกกำลังกาย
·       การเล่นกีฬาประเภทต่างๆ  เช่น ฟุตบอล บอสเกตบอล เทนนิส เป็นต้น
·       การว่ายน้ำ
ตัวอย่างกิจกรรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางจิตใจ
·       การนั่งสมาธิ
·       การเดินจงกรม
·       การเล่นโยคะ
·       การนั่งวิปัสสนา
·       การเข้าค่ายธรรมะ หรือ การเข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา
·       การผ่อนคลายความเครียดตัววิธีการต่างๆ เช่น การไปพักผ่อนตากอากาศที่ต่างจังหวัด การฟังเพลง เป็นต้น

ความสำคัญของกิจกรรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและใจ

·       เป็นการสร้างเสริมให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
·       เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น ระบบกล้ามเนื้อ ระบบหายใจ  
           ระบบหมุนเวียนโลหิต เป็นต้น
·       ช่วยให้มีรูปร่างที่ดี
·       ทำให้ร่างกายเกิดความคล่องตัว มีความหยืดหยุ่น
·       เป็นการลดความเครียดจากการเรียนหรือการทำงาน
·       ทำให้เป็นคนมีสุขภาพทางจิตที่ดี เป็นคนร่าเริง อารมณ์ดี มีทัศนะคติในการมองโลกไปในทางที่ดี
·       มีปฏิภาณไหวพริบในการแก้ปัญหา แก้ปัญหาด้วยความชาญฉลาด
หลักการเลือกกิจกรรมทางกายและทางจิต  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.    ทางกาย
เลือกรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับความสามารถทางร่างกายของเรา และ เลือกปฏิบัติกิจกรรมที่เรามีความชื่นชอบและถนัด โดยพิจารณาตามปัจจัยดังนี้
·       ความแตกต่างระหว่างเพศ : เพศหญิง และ เพศชาย มีรูปร่าง ลักษณะ และความสามารถทาง 
ร่างกายที่แตกต่างกัน ทั้งการเจริญเติบโต ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความคล่องแคล่วว่องไว
·       สภาพร่างกาย และจิตใจ  แต่ละบุคคลมีสภาพทางร่างกายและจิตใจที่แตกต่างกัน
·       ความปลอดภัย
·       เวลาในการปฏิบัติ : ควรมีการปฏิบัติกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินไป
·       ความสนใจและความถนัด
·     วัย : ควรมีการเลือกรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย
           
2.    ทางจิต
        ·       สภาพร่างกาย และจิตใจ : แต่ละบุคคลมีสภาพทางร่างกายและจิตใจที่แตกต่างกัน ดังนั้นควรพิจารณาความสามารถของตนเอง ก่อนเลือกปฏิบัติกิจกรรมนั้นๆ
·       ความสนใจ และความตั้งมั่นในการปฏิบัติ
·       สถานที่ : ควรเป็นสถานที่ที่สงบ ไม่วุ่นวาย มีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ดี เช่น ไม่มีสิ่ง
           รบกวน เช่น เสียง แสง กลิ่น ควัน เป็นต้น


การวางแผนสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและจิต  มีขั้นตอนสำคัญดังนี้

1.  กำหนดเป้าหมาย  เช่น  วางแผนฝึก
2.  ศึกษาเกี่ยวกับหลักการโดยทั่วไปในการสร้างเสริมสมรรถภาพ  เช่น ลักษณะทั่วไปของผู้มีสมรรถภาพทางกายดีเป็นอย่างไร หลักการสร้างเสริมสมรรถภาพและประโยชน์ของการมีสมรรถภาพที่ดี
3.  การตรวจสุขภาพ  ก่อนการวางโปรแกรมสำหรับสร้างเสริมสมรรถภาพ  ผู้ปฏิบัติควรได้รับการตรวจทางการแพทย์  เช่น  ประวัติการป่วย   การเต้นของชีพจร  เป็นต้น
4.  การเลือกกิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย  ต้องคำนึงถึงความสนใจและความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
5.  ศึกษาวิธีการเล่น  การฝึกที่ถูกต้อง  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
6.  ระยะเวลาในการฝึก   กำหนดระยะเวลาที่เหมาะสม   
7.  จัดเตรียมสถานที่  ควรจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศให้เหมาะสมกับกิจกรรม
8.  ปฏิบัติกิจกรรมตามแผนที่วางไว้
9.  การประเมินผลหลังการปฏิบัติกิจกรรม  เพื่อให้ทราบข้อบกพร่องของตนเอง แล้วนำมาแก้ไขปรับปรุงต่อไป

รูปแบบของกิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย  มีหลายวิธีดังนี้
ตัวอย่าง  ท่านอนหงาย

       เป็นท่าทำได้ไม่ยาก การฝึกจะทำให้ได้ผลดีต่อร่างกาย กระตุ้นอวัยวะในช่องท้อง ลดอาการปวดประจำเดือน ลดอาการปวดหลัง

รูปแบบของกิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางจิต  เช่น  การวิ่งสมาธิ
มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
 1. ศีรษะและลำตัวควรตั้งตรง อกผาย ไหล่ผึ่ง
2. แกว่งแขนตรงไปข้างหน้า อย่าแกว่งแขนข้ามลำตัว
3. ลงน้ำหนักที่ส้นเท้าคล้ายเดิน แล้วรีบนาบฝ่าเท้าโดยโยกตัวไปข้าหน้าเล็กน้อย เพื่อยกเท้าขึ้นด้วยปลายเท้า อย่าลงปลายเท้าก่อนแบบวิ่งเร็ว
4. หายใจให้ลึกและยาวอย่างที่เรียกกันว่าหายใจด้วยท้องสำหรับจังหวะการหายใจควรปล่อยให้เป็นปกติตามธรรมชาติ
5. อย่าเกร็งส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย กำมือหลวมๆตามสบาย
         เป็นการลดความตึงเครียด  อีกทั้งยังช่วยให้ระบบต่างๆในร่างกายได้รับการปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น อีกด้วย


 แหล่งอ้างอิง ; 

http://61.19.55.118/~nokjip/pairin/5/6.1.4.html
http://www.siamhealth.net/public_html/alter/yoga/pose.htm